วันศุกร์ที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2558

แล้วจะเลือกส่งเครื่องมือไปสอบเทียบที่ไหนดีละ

การเลือกสถานที ในการส่งเครื องมือวัดไปสอบเทียบ
      หากเราต้องการเลือกสถานที สอบเทียบเครื องมือวัด เราจะมีเกณฑ์หรือพิจารณา จากอะไรได้บ้างวาสถานที สอบเทียบนั้น มีความน่าเชื อถือและเราจะเรียกร้องขอดูเอกสาร หรือหลักฐานใดบ้างจากสถานที่ สอบเทียบเครื องมือวัดนั้น ๆ พิจารณาได้จากหลาย ๆ อย่างประกอบกัน เช่น
1. สถานที นั้นได้รับการรับรองจากองศ์กร หรือหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ ง แล้ว
2. สถานที นั้นมีชื อเสียงเป็นที ่รู้จักกันในวงการ ถ้าไม่รู้จักกันให้ถามเพื อนใน โรงงานอื่ นซึ งต้องมีผู้รู้จักบ้าง
3. ในขณะที เข้าไปติดต่อ ได้เห็นสถานที ่สะอาด มีเครื องมือ อุปกรณ์และ บุคลากรพร้อม เพื ่อการทํางานอยางเป็นกิจจะลักษณะ
4. สําหรับเอกสารที ควรจะดูเช่น ใบรับรอง , รายชื ่อเครื่ อง , Calibration traceability และรายละเอียดอื น ๆ นั้น สถานที ่ซึ งพร้อมให้บริการมักจะแสดงให้ เห็นอยูที บอร์ดหรือในที ซึ่ งสามารถมองเห็นได้ง่ายโดยไม่ต้องขอ แต่ถ้าต้องการสิ ่งใดเพิ ่มเติมนอกเหนือจากที แสดงไว้ก็มีสิทธิ์สอบถามได้
5. ที ่สําคัญอีกอยางหนึ งก็คือ การสอบกลับของเครื องมือมาตรฐาน ซึ ง สามารถสอบกลับไปถึงระดับ SI Unit หรือไม่ ตลอดจนสอบกลับไปยังวิธีการ สอบเทียบ และตัวบุคลากรสอบเทียบ 

    หมายเหตุ เพิ่มเติม หน่วยงานใดที่ทำระบบ ISO/IEC17025 เครื่องมือที่จะต้องสอบเทียบ ต้องผ่านหน่วยงานสอบเทียบที่ได้การรับรอง  ISO/IEC17025  ของเครื่องมือตัวนั้นด้วย มิฉะนั้น ผู้ตรวจประเมิณจะมีการให้ข้อบกพร่องได้ ถ้าเราไม่ส่งไปสอบเทียบหน่วยงานที่ได้การรับรอง  ISO/IEC17025 เพราะไม่มีความเชื่อมั่นถึงวิธีการสอบเทียบ   แต่ถ้าหน่วยงานท่านทำเพียง  ISO9000  ก็สามารถส่งเครื่องมือไปสอบเทียบกับหน่วยงานที่ทำการสอบเทียบได้ ไม่จำเป็นต้องมีการรับรอง  ISO/IEC17025  แต่ขอให้ พิจารณาในข้อที่ 2-5 ด้วย 







อยากจะรู้คำศัพท์ของมาตรวิทยา


Calibration คืออะไร
    การสอบเทียบ คือ การปฏิบัติงานที่อยูภายใตเงื่อนไขตางๆที่ถูกระบุไว โดยที่ในขั้นแรกสรางความสัมพันธอันหนึ่งระหวางคาปริมาณตางๆกับความไมแนนอนการวัดตางๆที่ไดจากมาตรฐานการวัด และสิ่งบงชี้ตางๆที่สมนัย ซึ่งมาพรอมกับความไมแนนอนการวัดที่เชื่อมสัมพันธ และในขั้นที่สองใชขอมูลนี้ในการสรางความสัมพันธ อันหนึ่งเพื่อใหไดผลการวัดอันหนึ่งจากสิ่งบงชี้สิ่งหนึ่ง
   แปลให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น การสอบเทียบ คือ การเปรียบเทียบสิ่งที่ไม่รู้ค่า มาเปรียบเทียบกับสิ่งที่รู้ค่า แล้วรายงานผลค่าผิดพลาดที่เกิดขึ้น พร้อมทั้งรายงานค่าความไม่แน่นอนทุกครั้ง ซึ่งต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขต่างๆที่ระบุไว้

Uncertainty  คืออะไร
    ความไมแนนอนการวัด   คือ พารามิเตอรที่ไมใชจํานวนลบที่ใชบงบอกลักษณะเฉพาะ ของการกระจายของคาปริมาณตางๆของสิ่งที่ถูกวัดสิ่งหนึ่งซึ่งกําหนดไวบนพื้นฐานของขอมูลท ี่ใช
   แปลให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น  ความไมแนนอนการวัด   คือ ปัจจัยต่างๆที่มีผลกระทบต่อการสอบเทียบในครั้งนั้นๆ ที่ไม่สามารถควบคุมได้ เช่น เครื่องมาตรฐาน สภาวะแวดล้อม ฯลฯ

SI คืออะไร
    ระบบของหนวยระหวางประเทศ ระบบ SI ระบบของหนวยที่กําหนดไวบนพี้นฐานของระบบของ ปริมาณระหวางประเทศ โดยที่ หนวยเหลานั้นมีชื่อและ สัญลักษณรวมทั้งอนุกรมของคําอุปสรรค และชื่อ และ สัญลักษณพรอมทั้งกฎเกณฑตางๆในการใชของคํา- อุปสรรค เหลานั้น เปนที่ยอมรับโดยที่ประชุมทั่วไปวาดวย- การชั่งและการวัด ( CGPM)


Correction คืออะไร แตกต่างกับ Eror อย่างไร
    Correction คือ ค่าแก้    คิดมาจาก   ค่า Standrad ( STD )  -  ค่าที่อ่านได้จากอุปกรณ์ที่นำมาสอบเทียบ ( UUC )
    Eror  คือ ค่าความผิดพลาดของเครื่องมือ  คิดมาจากค่าตรงกันข้ามกับค่าแก้ ( Correction )

Verification 
    การทวนสอบ ( Verification )  หมายถึง  การยืนยันโดยการตรวจสอบ และมีหลักฐานแสดงว่าเป็นไปตามข้อกำหนดที่ระบุ        ผลของการทวนสอบนำไปสู่การตัดสินใจว่า จะยังคงนำมาใช้งาน หรือทำการซ่อมแซม หรือลดเกรด หรือ ติดป้ายห้ามใช้ ทั้งนี้การทวนสอบที่กระทำควรจะทำเป็นบันทึกเอกสารเก็บไว้

Repeatability คืออะไร
    Repeatability คือ การทำซ้ำของการสอบเทียบ ที่เวลาใกล้เคียงกัน ต่อเนื่องกัน และมีผู้สอบเทียบคนเดียวกัน

แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าเครื่องมือตัวไหนสอบเทียบบ้าง

  คำถามนี้เป็นคำถามยอดฮิตมาเวลาผมไปบรรยายให้กับหน่วยงานต่างๆ เป้นคำถามที่ตอบไว้แล้วมีการตั้งคำถามใหม่เกิดขึ้นทุกครั้ง  ดังนั้นแล้วฉบับนี้ผมจะมาตอบปัญหาของทุกท่าน โดยทั่วไป เครื่องมือวัดอุตสาหกรรม มีการจัดการเครื่องมืออยู่ 3 ประเภท ด้วยกันดังนี้

  1. Calibration
  2. Check
  3. Maintanance
  ดังนั้นแล้วเราควรแยกเครื่องมือออกเป็น 3 ประเภทก่อน โดยการคัดเลือกเครื่องมือให้อยู่ใน 3 ประเภท

     ประเภทของ Calibration  คือเราต้องตรวจดูว่าเครื่องมือตัวไหนบ้างที่มีความเสี่ยงต่อระบบคุณภาพ การทำงานของเรา  หมายถึง ถ้าเครื่องมือตัวนี้มีความผิดพลาด จะมีผลกระทบต่อระบบทันที  
    ส่วนเราจะสอบเทียบเองหรือส่งไปให้หน่วยงานสอบเทียบก็ได้   แต่ถ้าเราสอบเทียบเอง ต้องมีการเขียนวิธีการสอบเทียบให้ถูกต้อง  และมีมาตรฐานการสอบเทียบที่ชัดเจน เครื่องมือมาตรฐานต้องผ่านการสอบเทียบ  ตลอดจนตัวผู้สอบเทียบเองต้องผ่านการอบรบ ได้รับความรู้ที่ดีในการสอบเทียบ และปัจจัยอื่นๆ อีกมากมาย  และที่สำคัญการสอบเทียบต้องมีการรายงานค่าความไม่แน่นอนทุกครั้งในการสอบเทียบ     แต่เมื่อไรส่งไปสอบเทียบจากหน่วยงานภายนอก ก็จะไม่มีปัญหาอะไร แค่เพียงสอบกลับผลการวัดได้ก็พอ ( การสอบกลับจะมาสอนในฉบับต่อไปนะครับ )
    
    ประเภทของ Check  คือเครื่องมือที่ไม่ค่อยจะมีผลต่อระบบสักเท่าไร เครื่องมือประเภทนี้เพียงแค่ทำการตรวจเช็คเองก็เพียงพอแล้ว  แต่เราต้องมีวิธีการตรวจเช็คที่ถูกต้องด้วย ซึ่งการตรวจเช็คนี้ไม่จำเป้นต้องรายงานค่าความไม่แน่นอนในการวัดก็ได้ 

   ประเภทของ Maintanance  คือเครื่องมือที่อยู่นอกเหนือจากระบบ หรือเครื่องที่ไม่มีผลต่อระบบ  แต่จำเป็นต้องมีการบำรุงรักษาเครื่องมือ เพราะเครื่องมือประเภทนี้ไม่มีมาตรฐานในการสอบเทียบ 

  ดังนั้นเมื่อรู้แล้วว่าเครื่องมือตัวไหนสอบเทียบหรือไม่ต้องสอบเทียบบ้าง จะได้ส่งเครื่องมือไปสอบเทียบ หรือสอบเทียบเองได้ถูกต้องนะครับ



เมื่อสอบเทียบเสร็จแล้วจะได้ประโยชน์อะไรบ้างละ


ประโยชน์ที่จะได้รับ
     การสอบเทียบเครื่องมือวัดที่เหมาะสมจะสร้่างความมั่นใจว่า ผลิตภัณฑ์และบริการได้ตามคุณภาพที่กำหนด ซึ่งกล่าวโดยสรุป การสอบเทียบมีประโยชน์ ดังต่อไปนี้
 
       เพิ่มคุณภาพผลิตภัณฑ์ ในทุกกระบวนการหรือขั้นตอนการผลิตจำเป็นต้องอาศัยกระบวนการวัด ไม่ว่าจะเป็นการวัดอุณหภูมิ การวัดน้ำหนีก การวัดความยาว การวัดสมบัติเฉพาะทางไฟ้ฟ้า หรือการวัดอื่น ๆ เครื่องมือวัดและตรวจวิเคราะห์ที่ใช้ในกระบวนการผลิตเหล่านี้ จึงถือเป็นปัจจัยที่สำคัญที่จะช่วย ให้การผลิตมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะเมื่่อผลการที่้เกิดจาก เครื่ิองมือวัดและตรวจวิเคราะห์แสดงผลได้ถูกต้องและแม่นยำย่อมสนับสนุนให้การผลิตภัณฑ์ มีความถูกต้อง สอดคล้องกับมาตรฐานทีกำหนดไว้ รวมทั้งช่วยให้กระบวนการตัดสินใจรับ หรือไม่รับผลิตภัณฑ์มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
 
    ใช้ทรัพยากรอย่างเหมาะสม กระบวนการสอบเทียบยังเป็นกระบวนการที่ช่วยบ่งบอก ถึงความคลาดเคลื่อนของเครื่องมือวัดที่ใช้ในงาน โดยทำการเปรียบเทียบกับมาตรฐานการวัด (reference standards equipment) ที่รู้ค่าความถูกต้องแน่นอน ผลการเปรียบเทียบที่เกิดขึ้นจะเป็นปัจจัยสำคัญและมีความเกี่ยวข้่องกับการกำหนดค่า ความคลาดเคลื่อนของเครื่องมือวัด โดยผลการวัดที่ถูกต้องจะช่วยให้การปรับแ้ก้ไข กระบวนการผลิต เพื่อการชดเชยความบกพร่องของผลิตภัณฑ์เป็นไปอย่างถูกต้อง ทำให้ของเสียลดลงหรือแทบไม่มีเลย ซึ่งจะส่งผลให้มีการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่นั้น เกิดประโยขน์สูงสุดภายใต้ต้นทุนที่เหมาะสม โดยไม่ต้องมีค่าใช้จ่าย สำหรับการทำลายผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้มาตรฐาน และไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมในการผลิตใหม่
 
 
    เป็นรากฐานที่สอดคล้องตามมาตรฐานสากล หรือมาตรฐานอย่างใดอย่างหนึ่งของ ภาคอุตสาหกรรมที่ว่าการวัดจะต้องสามารถสอบกลับได้สู่มาตรฐานแห่งชาติ การสอบเทียบเครื่องมือถือเป็นข้อกำหนดหนึ่งในระบบมาตรฐานต่าง ๆ เช่น มาตรฐานระบบบริหารงานคุณภาพ ISO 9000 มาตรฐานระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม ISO 14000 และระบบการรับรองความสามารถห้องปฏิบัติการ ISO/IEC 17025 เป็นต้น และปัจจียที่ขาดไม่ได้ คือในการสอบเทียบเครื่องมือนั้นจะต้องมีความสามารถสอบกลับได้ สู่หน่วยวัด SI โดยผ่านมาตรฐานแห่งชาติหรือมาตรฐานสากล การสอบเทียบที่เกิดขึ้น จึงเป็นที่ยอมรับในระดับสากล และลดค่าใช้จ่ายในการวัดและทดสอบซ้ำ
 
    ประกันความคงเส้นคงวา และสร้างความมั่นใจในความสามารถประกอบเข้ากันได้ การสอบเทียบเครื่องมือช่วยควบคุมคุณภาพของกระบวนการผลิต ให้ดำ้เนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำใ้ห้การผลิตมีความคงเส้นคงวา และยังช่วยให้การผลิตผลิตภัณฑ์หรือชิ้นส่วนต่าง ๆ โดยผู้ผลิตรายเดียวกัน หรือผู้ผลิตต่างรายกันที่ใช้มาตรฐานการผลิตภัณฑ์เดียวกัน สามารถนำชิ้นส่วนต่าง ๆ มาประกอบเข้าด้วยกันได้อีกด้วย
 
สรุป
 
    การสอบเทียบมีความสำคัญไม่เฉพาะต่อโรงงานอุตสหกรรมที่ต้องการขอการรับรอง ระบบมาตรฐานคุณภาพเท่านั้น แต่ยังครอบคลุมไปถึงอุตสหกรรมทุกประเภท เนื่องจากการสอบเทียบ เป็นองค์ประกอบอย่างหนึ่งที่จะช่วยสร้างความเชื่อมั่นผลการวัดของ เครื่องมือวัดต่าง ๆ ที่ใช้ในกระบวนการผลิต ซึ่งเปรียบเสมือนหลักประกันที่ใช้ในการควบคุม คุณภาพในกระบวนการผลิตนั่นเอง ฉะนั้นเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพการผลิต ยกระดับมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ และเสริมสร้างความแข็งแกร่งในการแข่งขันทางการค้า ระหว่างประเทศ การสอบเทียม จึงเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่จำเป็น

แล้วทำไมต้องสอบเทียบเครื่องมือวัดฯด้วยละ

แล้วทำไมต้องสอบเทียบเครื่องมือวัดฯด้วยละ

 
           คำถามยอดฮิตที่มีคนตั้งคำถามมากมายว่าทำไมต้องทำการสอบเทียบเครื่อมือวัด ก่อนอื่นต้องขอยกตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนและใกล้ตัวเราที่สุด เช่น นาฬิกาข้อมือ ที่ใช้กันอยู่ทุกวัน เคยสังเกตบ้างไหมว่า ในตอนที่ซื้อนาฬิกามา เราจะทำการปรับตั้งเวลา ให้ถูกต้องกับเวลามาตรฐาน แต่่เมื่อใช้ไปซักพัก นาฬิกาอาจบอกเวลาช้าหรือเร็วกว่าปกติ ทั้งที่แบตเตอร์รี่ของนาฬิกายังอยู่ในสภาพที่สามารถใช้งานได้ดี นอกจากนี้บ่อยครั้งที่ ต้องทำการตรวจสอบว่านาฬิกายังคงบอกเวลาที่ถูกต้องอยู่หรือไม่ โดยอาจเทียบกับเวลาเคารพธงชาตื 08.00 น. หรือ 18.00 น. หรือเทียบกับเวลามาตรฐาน ที่หมายเลขโทรศัพท์ 181 ซึ่งการตรวจสอบนี้จะกระทำเป็นระยะ ๆ เพื่อให้แน่ใจว่า นาฬิกาของเรายังคงบอกเวลาได้ถูกต้องอยู่เสมอ ทั้งนี้เนื่องจากว่าถ้านาฬิกาสามารถบอกเวลา ได้อย่างถูกต้อง แม่นยำ ย่อมจะไม่กระทบต่อกิจกรรมและการดำเนินชีวิตประจำวัน และยังเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยสนับสนุนให้การดำเนินงานต่าง ๆ ประสพความสำเร็จได้อย่างราบรื่น เช่น การประชุม การนัดหมาย หรือการปฏิบัติงานต่าง ๆ เป็นต้น
 
         เครื่องมือวัดที่ใช้ในกระบวนการผลิตของภาคอุตสหกรรมก็เช่นกัน โรงงานอุตสาหกรรมก็จะมี กระบวนการในการตรวจสอบและสอบเทียบเครื่องมือวัดให้มีความถูกต้องตามขอบข่าย ความคลาดเคลื่อนที่ยอมรับได้และกำหนดไว้ เพื่อให้ได้มาตรฐาาก่อนนำออกจำหน่าย เมื่อภาคอุตสาหกรรมอื่น ๆ สั่งซื้อเครื่องมือดังกล่าว ก็จะได้รับรองผลการตรวจสอบ (inspection certificate) หรือใบรับรองผลการสอบเทียบ (colibration certificate) เครื่องมือวัดนั้น ๆ มาด้วย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับข้อตกลงในการสั่งซื้อ โดยในใบรับรองผลการตรวจสอบหรือผลการสอบเทียบจะระบุสมบัติเฉพาะต่าง ๆ ของเครื่องมือ เช่น พิสัยการวัด (range) ค่าความละเอียด (resolution) ค่าความถูกต้อง (accuracy) และสภาวะแวดล้อม ได้แก่ อุณหภูมิ ความชื้นที่เครื่องมือสามารถทำงานได้ เป็นต้น
 
         แต่เครื่องมือถูกนำไปใช้งานระยะหนึ่ง อายุของส่วนประกอบและเครื่องมือวัดที่ใช้งาน อาจมีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งความเปลี่ยนแปลงหรือความคลาดเคลื่อนของผลการวัดที่เกิดขึ้นนี้ อาจเกิดจากการ Drift หรือการลอยเลื่อน (มอก. 235 เล่ม 14) หมายถึง การแปรผันอย่างช้า ๆ ตามเวลาของลักษณะทางมาตรวิทยาของเครื่องมือวัด อันเนื่องมาจากสภาวะแวดล้อมต่าง ๆ เช่น อุณหภูมิ ไฟฟ้า เคมี หรือช่างกล เป็นต้น นอกจากนี้ การใช้งานเครื่องมือวัดจะต้องตระหนักอยู่เสมอว่า การเสื่อมสภาพของเครื่องมือวัด ยังสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งจากการใช้งานและการเก็บรักษาอีกด้วย ฉะนั้น เมื่อเครื่องมือวัดอยู่ในสภาวะดังกล่าว สิ่งที่ตามมาคือเครื่องมือวัดที่เคยบอกค่าการวัดที่ถูกต้อง อาจบอกค่าที่คลาดเคลื่อนไปจากเดิม ส่งผลให้ผลการวัดที่ได้รับไม่น่าเชื่อถือ หรือหากนำเครื่องมือดีงกล่าวไปใช้งานในกระบวนการผลิตย่อมส่งผลกระทบต่อคุณภาพของ การออกแบบและกระบวนการผลิต การ Drift หรือการเปลี่ยนแปลงของเครื่องมือวัด ไม่สามารถกำจัดได้ แต่สามารถที่จะตรวจพบและแก้ไขได้โดยผ่านกระบวนการสอบเทียบ ด้วยการใช้ตัวมาตรฐานการวัดที่สามารถสอบกลับได้สู่มาตรฐานแห่งชาติเพื่อสอบเทียบ ให้กับเครื่องมือวัดที่ใช้ในกระบวนการผลิต
 
         ดังนั้นการสอบเทียบจึงเป็นปัจจัยที่สำคัญ ที่ช่วยสร้างความมั่นใจในผลการวัดของเครื่องมือวัดทุก ๆ ประเภท ไม่ว่าจะเป็น เครื่องมือวัดที่ใช้ในกระบวนการผลิต การทดสอบ และการวิเคราะห์ต่าง ๆ เพราะองค์ประกอบ ที่สำคัญที่สุดในการที่จะทำให้ผลการวัดที่เกิดขึ้นเป็นที่เชื่อถือได้ คือการใช้เครื่องมือวัด ที่มีความถูกต้องและแม่นยำ เหมาะสมกับการปฏิบัติงานนั่นเอง


วันพฤหัสบดีที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2558

ทำไมต้องมาอบรม มาเรียนรู้ที่ TCT เท่านั้น

ทำไมต้องติดต่อกับเรา

  • มีประสบการณ์งานสอบเทียบ มากกว่า 14 ปี

  • ผ่านการอบรมหลักสูตรสอบเทียบหลายหลักสูตร

  • ผ่านการตรวจประเมิน ISO/IEC 17025 มากกว่า 14 ปี

  • ​เป็นวิทยากรอบรมงานสอบเทียบทั้งภายในบริษัท และภายนอกบริษัท

  • ​รับเป็นที่ปรึกษางานสอบเทียบ

  • จัดหาแหล่งสอบเทียบเครื่องมือให้ถูกต้องตามวัตถุประสงค์ของท่าน



ประวัติการผ่านการอบรมจากหน่วยงานภายนอก



















ประวัติส่วนตัว

ประวัติส่วนตัว